Blogmax | แม็กกี้ ชินจัง

B084 Hand Foot Mouse disease (โรค มือ เท้า ปาก)

B084 Hand Foot Mouse disease (โรค มือ เท้า ปาก)

  สวัสดีครับคุณผู้อ่านประจำบล็อกแม็ก กลับมาพบกับแม็กกันอีกแล้วปลายเดือนกรกฎาคมนี้ วันนี้แม็กก็มีสาระสุขภาพมาฝากกัน วันนี้แม็กขอนำเสนอโรคมือ เท้า ปาก ที่กำลังเป็นข่าวฮิตอยู่ในขณะนี้ และตามสถานพยาบาลต่างๆก็กำลังเฝ้าระวังอยู่นั่นเอง  แล้วเราจะมีวิธีการทราบโรคเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง และจะป้องกันตัวเองอย่างไรไปดูพร้อมๆกันๆเลยครับ …

โรคมือเท้าปาก  Hand foot mouth Disease
 เป็นโรคที่มักพบการติดเชื้อในกลุ่มทารกและเด็กเล็ก แต่บางรายจะมีอาการรุนแรง ขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสที่มีการติดเชื้อส่วนใหญ่พบในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี โดยเฉพาะอายุต่ำกว่า 5 ปี มีอาการไข้ร่วมกับตุ่มเล็กๆ เกิดขึ้นที่ผิวหนังบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง หายได้เอง 

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Enteroviruses ที่พบเฉพาะในมนุษย์ ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ โรคปากเท้าเปื่อยส่วนใหญ่เกิดจาการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า coxsackie A16 (ส่วนใหญ่ประเทศไทยจะพบเชื้อนี้ มักไม่รุนแรง) เด็กจะหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน ส่วนที่เกิดจากEnterovirus 71 ส่วนใหญ่พบตามประเทศเพื่อนบ้านไม่ค่อยพบในประเทศไทยและมักแทรกซ้อนกับโรคอื่นมาก อาจเป็นแบบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ Aseptic meningitis ที่ไม่รุนแรง หรือมีอาการคล้ายโปลิโอ ส่วนที่รุนแรงมากจนอาจเสียชีวิตจะเป็นแบบสมองอักเสบ encephalitis ซึ่งมีอาการอักเสบส่วนก้านสมองทำให้หมดสติ หากเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจะทำให้เกิดหัวใจวาย ความดันโลหิตจะต่ำ มีอาการหัวใจวาย และ/หรือมีภาวะน้ำท่วมปอด

อาการ 
    – ไข้  มีอาการไข้สูงอาจเกิน 39 องศาเซลเซียส 2 วันแล้วจะมีไข้ต่ำๆ ประมาณ 37.5 – 38.5 องศาเซลเซียส อีก 3-5 วัน 
    – เจ็บคอเจ็บในปากกลืนน้ำลายไม่ได้ ไม่กินอาหาร 
    – พบตุ่มแผลในปาก ส่วนใหญ่พบที่เพดานอ่อนลิ้น กระพุ้งแก้ม อาจมี 1 แผล หรือ 2-3 แผล ขนาด 4-8 มิลลิลิตร เป็นสาเหตุให้เด็กไม่ดูดนม ไม่กินอาหารเพราะเจ็บ 
   – ปวดศีรษะ 
   –  พบตุ่มพอง (vesicles) สีขาวขุ่นบนฐานรอบสีแดง ขนาด 3-7 มิลลิเมตร บริเวณด้านข้างของนิ้วมือ นิ้วเท้า บางครั้งพบที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส้นเท้า ส่วนมากมีจำนวน 5-6 ตุ่ม เวลากดจะเจ็บ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยแตกเป็นแผล จะหายไปได้เองในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์  
   – เบื่ออาหาร 
   – เด็กจะหงุดหงิด 
   – ในเด็กโตจะบ่นปวดศีรษะ ปวดหลัง อาจมีอาเจียน เจ็บคอ น้ำลายไหล จากนั้นจะพบตุ่มพองใส ขนาด 1-2 มิลลิเมตร 2 ข้างของบริเวณเหนือต่อมทอนซิล (anteriar fauces) ซึ่งอาจแตกเป็นแผล หลังจากระยะ 2-3 วันแรก แผลจะใหญ่ขึ้นเป็น 3-4 มิลลิเมตร จะเห็นเป็นสีขาวเหลืองอยู่บนฐานสีแดงโดยรอบ ทำให้มีอาการเจ็บคอหรือกลืนลำบากเวลาดูดนมหรือกินอาหาร เด็กจะมีอาการน้ำลายไหล ส่วนใหญ่จะหายได้เองภายใน 3-6 วัน ยังไม่เคยมีรายงานการเสียชีวิต   
 การติดต่อ
   – ติดต่อทางอุจจาระ  แผลของผู้ป่วย 
   – การไอ จาม ของผู้่ป่วย 
 
การป้องกัน 
  –  พยายามรักษาสุขอนามัยให้สะอาด ก่อนรับประทานก็ให้ล้างมือให้สะอาด เป็นต้น 
 
รหัสการวินิจฉัยโรค ( ICD-10 )
  ICD-10 ฉบับ WHO การวินิจฉัยโรคมือ เท้า ปากเปื่อย คือ B084 Hand,foot and Mouth disease
 
   เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับสาระสุขภาพดีๆ ที่แม็กนำมาฝากให้กับคุณผู้อ่านได้ติดตามกันในวันนี้ สำหรับคุณผู้อ่านท่านใดที่มีข้อสงสัยอยากซักถามสามารถโพสต์ที่กล่อง comment ที่ท้ายบทความนี้ได้เลยครับ แล้วครั้งหน้าแม็กจะมีบทความอะไรมาฝากกันอีก ก็อย่าลืมติดตามกันนะครับ ^_^
 
เขียนบล็อกโดย นายแม็กกี้ ชินจัง IG : Maxpc2534 
ขอบคุณอ้างอิงข้อมูล ๑) [ Link ]
                               ๒) ข้อมูลรหัสการวินิจฉัยโรคจาก ICD-10 WHO 2010
Facebook Comments Box