Blogmax | แม็กกี้ ชินจัง

เวชระเบียน : เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง?

 

สวัสดีครับผู้อ่านบนเว็บ clubmag blog ทุกท่านบทความที่แล้วนั้นแม็กได้นำทุกท่านให้ได้รู้จักกับหลักสูตรและสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนเวชระเบียนกันไปแล้ว สำหรับบทความนี้แม็กจะให้ทุกท่านได้รู้จักอีกนิดนึงกับการเรียนการสอน สำหรับผู้ที่ได้เข้ามาศึกษาแล้ว และบทบาทการทำงานที่ทุกท่านหลังจบไป

การเรียนการสอนรวมถึงการทำงานที่จะเกี่ยวข้องกับเวชระเบียน หรือเวชสถิตินั้นผมขอแบ่งให้เห็นชัดเจนเป็นภาพใหญ่ๆ 3 ระบบดังนึั้

1.ระบบเวชระเบียน แม้ว่าปัจจุบันหลายๆสถานพยาบาลจะมีบุคลากรอื่นทำแทน หรือใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ตาม เราก็ยังคงต้องมีทักษะในเรื่องการค้นหา การจัดเก็บ การยืม การคืน การบริหารอยู่ดี อีกประการหนึ่งบุคลากรอื่นทำแทนอันเนื่องมาจากผู้จบเวชระเบียนโดยตรงอดีตผลิตไม่ทันและไม่เพียงพอนั่นเอง บทบาทตรงนี้จะเห็นเวชสถิติบริเวณห้องเวชระเบียน/ห้องบัตร

2. ระบบการให้รหัสทางการแพทย์ ปัจจุบันเนื่องจากระบบการเบิกค่ารักษาพยาบาลตามระบบDRGs มีบทบาทมากขึ้น เวชสถิติส่วนใหญ่จะปฏิบัติงานส่วนนี้มาก และอาจเกิดความเข้าใจผิดให้วิชาชีพอื่นมองว่า. เป็นเวชสถิติง่ายหรือแค่ให้รหัสโรคเท่านั้น แท้จริงแล้วหมวดนี้ต้องเรียนรู้ทางด้านศัพท์แพทย์ ชื่อยา ระบบอวัยวะต่างๆ (กายวิภาค) เพื่อนำมาเชื่อมโยงเข้ากับ รหัส icd10 ซึ่งเวชสถิติไม่ได้เรียนรู้เรื่องของการตรวจรักษาอย่างลึกซึ้ง แต่หากไม่เรียนรู้เรื่องคำศัพท์ดังกล่าวจะส่งผลต่อการให้รหัสทางการแพทย์ทีผิดพลาดและไม่ถูกต้องได้ ระบบนี้จึงค่อนข้างเป็นหัวใจสำคัญอีกระบบหนึ่งให้เวชสถิติกับการทำงานปัจจุบัน

3.ระบบสถิติและรายงาน ระบบนี้จะได้เห็นบทบาทเวชสถิติปฏิบัติงานกับศูนย์ข้อมูล/ศูนย์คอมฯ(it) ทำหน้าที่ร่วมกับนักคอมพิวเตอร์ในการสร้างคำสั่ง queryเพือดึข้อมูลออกมาวิเคราะห์และสร้างเป็นรายงานหรือสถิติเพื่อนำเสนอให้ผู้บริหารหรือหน่วยงานที่ต้องการต่อไป (หากใครไม่ชอบทางคอมพิวเตอร์แล้วละก็การเรียนในหลักสูตรนี้ถือได้ว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้จริง)

บทบาทการทำงานหลังจากจบการศึกษา 
1. จะได้ทำงานในตำแหน่ง “เจ้าพนักงานเวชสถิติ(จพ.เวชสถิติ)” สำหรับหลักสูตร 2 ปี  และ ตำแหน่ง “นักวิชาการสาธารณสุข(เวชระเบียน) หรือ “นักเวชสถิติ” หรือ “นักวิชาการเวชสถิติ” สำหรับผู้จบในหลักสูตร 4 ปี

2. สถานที่ทำงานสามารถทำงานได้ทั้งสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน และสำหรับผู้จบหลักสูตร 4 ปีวุฒิสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต(เวชระเบียน) อาจได้ทำงานลงไปถึง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรืออนามัย

3. หน้าที่ความรับผิดชอบขึ้นอยู่กับบริบทและภารกิจของสถานพยาบาลนั้นๆ แต่หลักๆจะไม่พ้นหน้าที่ที่ได้เรียนรู้มา นั่นก็คือ 3 ระบบที่กล่าวไปแล้วข้างต้น หรืออาจจะได้รับผิดชอบทั้งหมดเลยก็ว่าได้

ความท้าทายของการจะก้าวมาเป็นเวชสถิติ /เจ้าพนักงานเวชสถิติ/นักวิชาการเวชสถิติ โดยสมบูรณ์ต้องผ่านการเรียนรู้ให้ครบ 3 องค์ประกอบ เหตุผลคือ ทุกคนมักจะมองว่าเวชระเบียนเรียนง่าย เพราะทุกคนเคยเห็นและนึกถึงแค่ “ระบบเวชระเบียน” แค่ระบบเดียวหรือระบบอื่นๆแค่ 1ใน3 เท่านั้นเอง
นั่นคือหากคุณสนใจ หรืออยากพิสูจน์ว่าจริงไหม ลองสมัครมาดูแล้วเจอกัน น้องเวชสถิติรุ่นใหม่ปีการศึกษาถัดไป

เรียบเรียงและเขียนบล็อกโดย แม็กกี้ ชินจัง IG :maxpc2534

Facebook Comments Box