สวัสดีกันอีกคราครับ คุณผู้อ่าน วันนี้แม็กมีสาระน่ารู้เรื่องสุขภาพมาฝากกันเช่นเคย เป็นเรื่องสดๆร้อนๆ ที่แม็กจะได้นำมาให้กับคุณผู้อ่านได้ติดตามกัน นั่นคือ “การค้นพบโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ที่ไม่ใช่โรคเอดส์ แต่มีลักษณะอาการคล้าย SLE” เป็นอย่างไร เชิญมาติดตามกันต่อครับ ………..
โรคนี้ถูกค้นพบโดยทีมวิจัยจาก ม.ขอนแก่น ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี มข. ศ.พญ.เพลินจันทร์ เชษฐโชติศักดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มข. และทีมแพทย์ มข. ร่วมแถลงข่าว โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องที่ไม่ใช่เอดส์Ž โดยศ.นพ.สุทธิพันธ์กล่าวว่า โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องที่ไม่ใช่เอดส์ ถือเป็นโรคใหม่ที่วงการแพทย์ของโลกเพิ่งค้นพบ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มข. วิจัยร่วมกันระหว่างแพทย์จากสถาบันสุขภาพแห่งชาติของไทย สหรัฐอเมริกา และไต้หวัน ศึกษาเรื่องโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องที่ไม่ใช่โรคเอดส์ ช่วยให้การรักษาของหมอเป็นไปอย่างถูกทิศทางและแม่นยำ ช่วยชีวิตผู้ป่วยให้รอดพ้นจากโรคร้ายได้ ผลการศึกษาครั้งนี้ยังได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์หลายฉบับ ที่ได้รับการอ้างอิงและเป็นที่ยอมรับสูง
โดยในโรคนี้ในเบื้องต้นทีมวิจัยได้ทำการศึกษาและค้นคว้าจะกลุ่มผู้ป่วยทั่วประเทศพบผู้ป่วยเป็นโรคนี้แล้วกว่า 120 รายและร้อยละ 80 เป็นผู้ป่วยในแถบภาคอีสาน มีอัตราเฉลี่ยอายุ 20 ปีขึ้นไป
รองอธิการบดีม.ขอนแ่ก่นกล่าว “โดยโรคภูมิคุ้มกันสายพันธุ์ใหม่นี้ มีลักษณะอาการคล้ายโรคพุ่มพวง หรือ โรค SLE (Systemic Lupus Erythematosus) และไม่ใช่โรคเอดส์ (AIDS :Acquire Immunization deficiency syndrome) โดยเกิดการติดเชื้อจากไวรัส โดยร่างกายผู้ป่วยจะสร้างแอนติบอดีมายับยั้งเซลล์พวกไต ทำให้ไตทำงานผิดปกติ เม็ดเลือดขาวและอวัยวะต่างๆในร่างกาย และผู้ป่วยจะมีอาการผมร่วง มีผื่น ปวดตามข้อ มีโรคไต โรคเลือด โดยผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคนี้จะอยู่ในกลุ่มของผู้ป่วยวัณโรค (TB:Tuberculosis ) ที่มีอากทีเรียหรือเชื้อรา โดยผู้ป่วยบางรายมีอาการผิวหนังอักเสบเป็นๆ หายๆ แต่จะไม่ติดเชื้อในกลุ่มของผู้ป่วยารแทรกซ้อนของแบคโรคเบาหวาน (DM:Diabetes Millitus) โรคนี้เรียกได้ว่าเป็นโรคทำลายเซลล์ตัวเอง”
ด้าน ศ.พญ.เพลินจันทร์ในฐานะหัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่า “โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องที่ไม่ใช่เอดส์ ไม่ติดต่อและแพร่ระบาดระหว่างคนสู่คนแน่นอน ส่วนแนวทางการรักษานั้นขณะนี้จะใช้ยารักษาเฉพาะทางรักษาทีละโรคตามอาการนั้นไปก่อน เนื่องจากการรักษาในระดับสากลนั้น จะมีค่าใช้จ่ายต่อครั้งต่อผู้ป่วย 1 ราย รายละ 100,000 บาท โดยต้องสั่งยา RITUXIMAB จากสหรัฐอเมริกา จึงจะหายขาดได้ ต้องใช้ระยะเวลานาน จึงเป็นเรื่องที่ทีมวิจัยต้องเร่งคิดค้นการรักษาโรคดังกล่าวโดยเร็ว”
ก็เป็นสาระน่ารู้สุขภาพสดๆร้อนๆ ที่แม็กนำมาฝากกันนะครับ ก็ถือว่าถ้าใครที่คิดว่าอาจจะเข้าข่ายของโรค หรือว่าสงสัยว่าจะเป็นแม็กแนะนำให้ท่านผู้อ่าน ไปพบแพทย์ที่สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลใกล้บ้านจะดีที่สุดครับ ^_^ และสำหรับโรคนี้นั้นหากแม็กมีความคืบหน้าอย่างไรอีกต่อจากนี้จะได้นำมารายงานกันต่อนะครับ สำหรับวันนี้สวัสดีครับ
ขอบคุณ อ้างอิงข่าว ไทยรัฐ และ ข่าวสด ออนไลน์ครับ
เรียบเรียงเขียนบทความ MaG Rocky ครับผม