Blogmax | แม็กกี้ ชินจัง

หลักสูตรเวชระเบียนคือ? กับการอธิบายแบบแผนภาพที่เข้าใจง่ายทันที

หลักสูตรเวชระเบียนคืออะไร…

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเวชระเบียน
สำหรับหลักสูตรเวชระเบียน ก่อนอืนเราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า เวชระเบียน คือ เอกสารทางราชการที่เป็นหลักฐานทางการแพทย์ ที่บันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยคนนั้นๆ ตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิต โดยบันทึกแพทย์ พยาบาล และทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในการบันทึก และเวชระเบียนถือเป็นข้อมูลที่จะเปิดเผยไม่ได้นอกจากเจ้าของประวัติเท่านั้น

ปัจจุบันการเรียนในหลักสูตรเวชระเบียน เริ่มมีมหาวิทยาลัยอื่นเปิดหลักสูตรนี้กันมากขึ้น เนื่องจากเวชระเบียนสถิติ ถือเป็นอีก 1 บุคลากรอาชีพที่ขาดแคลนในระบบบริการสุขภาพ จากเดิมที่ผลิตโดย สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข โดยวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี ปัจจุบันมี ึคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และอีก 1 ที่มหาวิทยาลัยรังสิต

การเรียนการสอน
– เรียนเกี่ยวกับการจัดเก็บ / จัดทำ / สืบค้น / บึนทึกและทำลายเวชระเบียน
– การให้รหัสทางการแพทย์ ตามแนวทางการให้รหัสโรคของ ICD-10 , ICD-9 ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก WHO
– การจัดทำรายงานและสถิติทางการแพทย์เพื่อนำเสนอต่อผู้บริหาร
– การใช้คำสั่งรายงานเบื้องต้น สำหรับการดึง่ข้อมูลรายงาน ตลอดจนเรียนรู้ฐานข้อมูลเบื้องต้น ( ใครไม่ชอบคอมพิวเตอร์คงปฏิเสธไม่ออกแน่ ถ้าต้องเจอวิชาเหล่านี้อยู่ด้วย)

วุฒิการศึกษาที่จะได้รับเมื่อเรียนจบ
– หลักสูตร 2 ปี ได้รับวุฒิ ประกาศนียบัตรเวชระเบียน (ปวส.) ศึกษาที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ฯ จ.นนทบุรี
– หลักสูตร 4 ปี ได้รับวุฒิ ปริญญาตรีสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ศึกษาที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ฯ สมทบ ม.บูรพา
– หลักสูตร 2 ปี (ต่อเนื่อง) ได้รับวุฒิ ปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต ศึกษาที่ คณะสังคมศาสตร์ ม.มหิดล ศาลายา
– หลักสูตร 4 ปี ได้รับวุฒิ ปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต ศึกษาที่ คณะสังคมศาสตร์ ม.มหิดล ศาลายา
– หลักสูตร 4 ปี ได้รับวุฒิ ปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต ศึกษาที่ ม.รังสิต ( ไม่มีข้อมูลรายละเอียด ขออภัย)

เพื่อให้เข้าใจง่ายว่าหลักสูตรเวชระเบียนคืออะไร เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้างวันนี้แม็กได้ทำเป็นข้อมูลฉบับย่อในรูปแบบแผนภาพ (infographic) ที่ทุกคนจะสามารถอ่านและเข้าใจได้ทันทีไว้ตรงนี้เรียบร้อยแล้วครับ ซึ่งหากน้องๆ หรือผู้อ่่านท่านใดสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มได้ได้ที่เพจของผมโดยตรง  Blogmax : แม็กกี้ชินจัง  หรือที่แฟนเพจ เวชระเบียนรุ่นที่ 36 ได้เลยนะครับ

เขียนบทความโดย  แม็กกี้ ชินจัง จพ.เวชสถิติ รุ่นที่ 36

Facebook Comments Box