ปัจจุบันหลักสูตรเวชระเบียนมีด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ
1) ปริญญาตรีบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน กับ 2) ประกาศนียบัตร สาขาวิชาเวชระเบียน
โดยทั้งสองรูปแบบมีการจัดการหลักสูตรในสถาบันการศึกษา ดังนี้
1) วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี เปิดสอนหลักสูตร ประกาศนียบัตรเวชระเบียน ( 2 ปี ) และ หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิตสาขาเวชระเบียน ( 4 ปี ) ปรับปรุงหลักสูตรปี 2561 จากหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรเป็น วิทยาศาสตร์
2) มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จ.นครปฐม เปิดสอนหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิตเทียบโอน ( 2 ปีหลัง) และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาเวชระเบียน ( 4 ปี )
3) มหาวิทยาลัยรังสิต อันนี้ทราบเพียงว่ามีเปิดหลักสูตรการเรียนการสอน 4 ปี แต่ไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมต้องขออภัย
การเรียนเวชระเบียนเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้นจะแบ่งออกเป็นระบบ 3 ระบบด้วยกัน ดังนี้
1) ระบบเวชระเบียน จะได้เรียนเกี่ยวกับการจัดทำ ค้นหา ยืมคืน และการจัดเก็บเวชระเบียน จนถึงการทำลาย แม้ว่าในปัจจุบันในหลายๆสถานพยาบาลจะปรับตัวให้ระบบเวชระเบียนอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น แต่ก็ยังคงต้องเรียนรู้เรื่องนี้อยู่เช่นเดิม เพราะหากไม่เรียนรู้วิธีการจัดทำ หรือการบริหารจัดการเหล่านี้เราจะสามารถประยุกต์ใช้ให้กับเข้ากับระบบสารสนเทศได้อย่างไร
2) ระบบรหัสทางการแพทย์ จะได้เรียนเกี่ยวกับการให้รหัสทางการแพทย์ ICD-10 , ICD-9 ที่เป็นทั้งรหัสโรคและรหัสหัตถการที่เป็นสากลซึ่งกำหนดโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อแปลงคำวินิจฉัยของแพทย์ให้เป็นรหัสที่ง่ายต่อการส่งเบิกเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลระบบนี้จึงเป็นระบบหนึ่งที่หลายๆสถานพยาบาลเริ่มให้ความสำคัญกับตำแหน่ง เจ้าพนักงานเวชสถิติ หรือตระหนักในการเรียนการสอนให้ผลิตนักเวชระเบียนได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น
3) ระบบสถิติและรายงาน ส่วนนี้จำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อประสานงานเข้ากับนักคอมพิวเตอร์ของสถานพยาบาลหรือเรียนรู้การดึงรายงานพื้นฐานของระบบสุขภาพที่ต้องสามารถสร้างและดึงรายงานพื้นฐานรวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพในเบื้องต้นได้ (Mysql ,Database ต่างๆ ) หากไม่ชอบ IT หรือคอมพิวเตอร์ แต่อยากเรียนเวชระเบียนเป็นอะไรที่ปฏิเสธที่จะต้องเจอไม่ได้จริงๆเลยครับ แล้วยิ่งปัจจุบันเป็นยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มี 4G กับประเทศที่มีนโยบาย 4.0 ด้วยแล้วก็ยิ่งหลีกหนีไปไหนไม่ได้เลยครับ
เพิ่มเติมเกี่ยวกับ solariumsolning
การทำงานเมื่อจบออกมา จะได้ทำงานในตำแหน่ง
1) เจ้าพนักงานเวชสถิติ
2) นักวิชาการเวชสถิติ / นักเวชสถิติ / นักวิชาการสาธารณสุข (เวชสถิติ)
ขณะนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)มีมาตรฐานกำหนดตำแหน่งเพียง เจ้าพนักงานเวชสถิติเท่านั้น เนื่องจากตำแหน่งนักวิชาการสถิติ กำลังอยู่ในขั้นดำเนินการผลักดันต่อไป
บทความหน้าจะเอาสาระเกี่ยวกับเวชระเบียนใดมาฝากติดตามกันไว้นะครับ หรือหากมีคำถามฝากไว้ได้เลยครับ เดี๋ยวว่างๆจะหาเวลาทำ Q&A คำถามที่พบบ่อยนะครับ
แม็กกี้ ชินจัง IG:maxpc1991
เจ้าพนักงานเวชสถิติ รุ่นที่ 36