สวัสดีทุกท่านครับวันนี้แม็กขอนำพาทุกท่านให้ได้รู้จักกับหลักสูตรเวชระเบียน (medical record) เป็นวิชาชีพหนึ่งของการเรียนทางสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เมื่อจบไปแล้วประกอบอาชีพในตำแหน่ง เจ้าพนักงานเวชสถิติ หรือนักวิชาการเวชสถิติ ในสถานพยาบาลต่างๆทั้งรัฐและเอกชน ซึ่งบทความวันนี้ขอพูดถึงสถาบันที่ทำการเรียนการสอนและหลักสูตรที่เปิดให้เข้าศึกษาก่อนแล้วกันดังนี้นะครับ
#หลักสูตรเวชระเบียน (Medical Record)
ขณะนี้มีสถาบันที่ทำการเปิดและทำการเรียนการสอน 2 สถาบันหลักได้แก่
1. วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
1.1 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรเวชระเบียน (ปวส.เวชระเบียน) หลักสูตร 2 ปี
1.2 เปิดสอนหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาเวชระเบียน (สบ.เวชระเบียน) สมทบกับม.บูรพา เป็นหลักสูตร 4 ปี เริ่มเปิดการเรียนการสอนเมื่อปี 2555
– หลักเกณฑ์การรับสมัครเป็นไปตามที่สถาบันพระบรมราชชนกกำหนดสำหรับวิทยาลัยในเครือข่าย โดยติดตามรายละเอียดได้ที่ https://admission.pi.in.th/ หรือเว็บไซต์ของวิทยาลัยเทคโนโลยีโดยตรงที่ http://kmpht.ac.th/
2. มหาวิทยาลัยมหิดล(ศาลายา) คณะสังคมศาสตร์
2.1 หลักสูตรเทียบโอนเวชระเบียน (2 ปีต่อเนื่อง)
2.2 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.เวชระเบียน) หลักสุตร 4 ปี เริ่มเปิดการเรียนการสอนเมื่อปี 2555
ติดตามรายละเอียดได้จาก ม.มหิดลได้โดยตรง
บทความหน้าเราจะมาพูดถึงการเรียนการสอนหลักๆใหญ่ว่า เวชระเบียน หรือเวชสถิติต้องเจอกับบทเรียนอะไรบ้างก่อนจะออกมาเจอกับการทำงานจริงๆ ชอบกดไลค์กดแชร์บทความนี้ได้นะครับ มีข้อสงสัย เสนอแนะ สอบถามเพิ่มเติมได้ท้ายบทความนี้ หรือที่แฟนเพจได้นะครับ แฟนเพจเวชระเบียนรุ่นที่ 36
เขียนบทความโดย แม็กกี้ ชินจัง Follow IG: maxpc2534