Blogmax | แม็กกี้ ชินจัง

เวชระเบียนเป็นของใคร และใครบันทึกได้บ้าง?

เวชระเบียน 1 ฉบับใครสามารถดู และบันทึกลงไปได้บ้าง สวัสดีครับทุกท่านวันนี้กลับมาในบทความเวชระเบียนกันอีกครั้งหนึ่ง ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณที่ให้ความสนใจในเนื้อหาเวชระเบียนอย่างต่อเนื่อง ผมเองที่หายไป(นานเลยทีเดียว) เพราะเนื่องจากไม่รู้จะทำคอนเทนต์ใดออกมาดี วันนี้สิ่งที่จะพูดนั้น ทุกท่านเคยสงสัยไหมว่าเวชระเบียนนี้เป็นใครของ และใครบันทึกบ้าง

1 เวชระเบียนนั้นเรารู้อยู่แล้วว่าคนที่เป็นเจ้าของคือเจ้าของประวัตินั้นๆ แต่เอกสารเป็นของสถานพยาบาล (ที่หากเจ้าของประวัติอยากทราบประวัติก็ต้องทำเรื่องขอคัดสำเนาจากสถานพยาบาลนั้นโดยตรง กรณีศาลสั่งให้ทำ
2 เวชระเบียนบุคคลที่สามารถดูการบันทึกรายละเอียดได้ จะมีเพียงแค่
2.1 แพทย์ที่เป็นเจ้าของประวัติที่เกี่ยวข้องกับการรักษาครั้งนั้นๆ หรือครั้งที่เกี่ยวข้องกับการมารักษาโรคนั้นต่อเนื่องเท่านั้นนะครับ
2.2 บุคลากรการแพทย์อื่น หรือสหวิชาชีพ จะสามารถได้กรณีในส่วนของที่เกี่ยวข้องกับการรักษาครั้งนั้นเช่นกันเพื่อใช้ประกอบการข้อมูลเพื่อใช้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสาขาอาชีพตัวเองเท่านั้นไม่สามารถบันทึกนอกเหนือจากที่ตนอยากบันทึกตามใจได้
2.3 เจ้าของประวัตินั้นสามารถขอดูได้โดยตรง หรือกรณีญาติต้องเป็นญาติสายตรง หรือกรณีศาลมีคำสั่ง(มีหมายศาล) เท่านั้นครับ online adult game
3. เวชระเบียนบุคคลที่่สามารถบันทึกรายละเอียดได้ จะมีเพียงแค่บุคลากรการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษา หรือตามบทบาทวิชาชีพที่มีส่วนรับผิดชอบเท่านั้น ตามข้อ 2.1 และ 2.2 ส่วน 2.3 ไม่มีสิทธิบันทึกในทุกกรณี

จากข้างต้นทุกคนคงสงสัยว่าอ้าวและนักเวชระเบียน เวชสถิติ สามารถบันทึกได้ไหม และบันทึกอย่างไรใช่ไหมครับ? แน่นอนครับว่าบุคคลกลุ่มนี้ก็คือกลุ่มบุคลากรการแพทย์อื่นๆ นั่นแหละครับ โดยบันทึกได้แค่ส่วนของตนเองตามบทบาทวิชาชีพนั่นคือ รหัสทางการแพทย์ โดยใช้พื้นฐานจากการคำวินิจฉัยของแพทย์ (Diagnosis from doctor) ที่แพทย์สรุปออกมา และใช้ข้อมูลจากทุกสาขาวิชาชีพที่บันทึกในเวชระเบียนมาประกอบการให้ครับ แต่หากใครงงกว่านี้สามารถส่งเป็นคำถามเข้ามาทางแฟนเพจ Blogmax : แม็กกี้ชินจัง ได้เลยนะครับ ส่วนการอธิบายเป็นคลิปบน Youtube channel อาจต้องรอหน่อยนะครับ สำหรับบทความนี้ต้องขอตัวไปก่อนแล้วครับ สวัสดีครับ

Facebook Comments Box