Blogmax | แม็กกี้ ชินจัง

ทำไมเวชระเบียน เรียนกายวิภาคและศัพท์แพทย์

สวัสดีครับทุกท่านประจำบล็อกแม็กคุง ทุกเรื่องราวเล่าผ่านบล็อกสไตล์ผม แม็กกี้ ชินจัง วันนี้ยังอยู่กับบทความเวชระเบียน เพราะช่วงนี้คงมีไม่กี่เนื้อหาที่คุณผู้อ่านทุกท่านคอยค้นหากันอยู่ในช่วงนี้ และวันนี้เช่นเคยผมขอหยิบยกประเด็นในเนื้อหาการเรียนบางส่วนมา ซึ่งคิดว่าหลายท่านคงจะสนใจไม่น้อย นั่นคือ “ทำไมเวชระเบียนต้องเรียนกายวิภาคศาสตร์และศัพท์แพทย์”

กล่าวอย่างตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อมละนะ ในหลักสูตรเวชระเบียนมีวิชาสำคัญเพื่อการต่อยอดในการทำงานที่เกี่ยวข้องในอาชีพเวชระเบียนไม่กี่อย่าง แต่หลักสูตรเวชระเบียนก่อนจะลงลึกในวิชาเฉพาะของเวชระเบียนต้องมีการปูพื้นฐานก่อน ไม่ต่างกับสาขาวิชาชีพอื่นในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพเช่นกัน หนึ่งในนั้นคือวิชากายวิภาคศาสตร์(Anatomy) ซึ่งการเรียนกายวิภาคศาสตร์ก็เพื่อทำให้เราสามารถจำแนกแยกแยะ ให้รู้จักสรีรวิทยาของทั้งร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้า อวัยะภายใน และภายนอกร่างกาย ส่วนโครงร่าง หรือส่วนยึดเสริมของร่างกาย ศัพท์ทางการแพทย์ นั่นต้องเรียนรู้เพื่อให้สามารถเข้าใจบริบทในสิ่งที่แพทย์วินิจฉัยได้อย่างถูกต้องในสิ่งที่ต้องการจะสื่อสาร

เวชระเบียน เรียน 2 วิชาเหล่านี้เพื่อใช้ต่อยอดในการเรียนระดับที่สูงขึ้นนั่นคือ รายวิชาการให้รหัสทางการแพทย์นั่นเอง ซึ่งวิชานี้เองที่จะใช้ในการต่อยอดมาจากการปูพื้นฐานในเรื่องกายวิภาค และศัพท์แพทย์ เพื่อให้การให้รหัสทางการแพทย์ ให้ได้โดยถูกต้อง แม่นยำ ตรงตามเจตนาของแพทย์ และสหวิชาชีพที่บันทึกรายละเอียดลงในเวชระเบียนโดยตรงตามเจตนาที่ต้องการจะสื่อสาร ไม่มีการบิดเบือน เพราะทุกอย่างที่บันทึกในเวชระเบียนสามารถใช้เป็นพยานเอกสารตามกฎหมายได้ด้วย ดังนั้นการให้รหัสทางการแพทย์จึงมีความสำคัญ และต้องอาศัยการเรียนรู้จากสิ่งพื้นฐานข้างต้นเป็นอย่างน้อย มิเช่นนั้น การแปลผลคำวินิจฉัยจากแพทย์ และการแปลข้อความประกอบจากทีมสหวิชาชีพสุขภาพอื่นๆ ก็จะมีผลทำให้ข้อมูลไม่ตรง คลาดเคลื่อนกันได้

ติดตามเนื้อหาบนช่อง Blogmax | Youtube Channel

Facebook Comments Box